วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2567

วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567

Enneagram: ทุกลักษณ์ "มีภูมิปัญญาอยู่แล้ว”ในแบบตนเอง การรู้จักพลังในตนเป็นสิ่งสำคัญ โดย พญ.ทานตะวัน

 

 

"Enneagram and Wisdom"

หลังจากทำนพลักษณ์ (enneagram)
มาหลายปี
ค้นพบว่า ทุกลักษณ์ล้วนมี wisdom ในแบบของตน

ทำให้รู้สึกว่า การเติบโต ไม่ใช่การดัดแปลง หรือ เข้าไปจัดการเปลี่ยนแปลงอะไร

แต่คือการรู้จักรูปแบบ สไตล์ของ mindset ที่เกิดขึ้นบ่อยๆก็พอ
และภูมิปัญญาก็มีในนั้นอยู่แล้ว

อยู่ที่วิธีการรับมือกับภูมิปัญญาที่เกิดขึ้น
ไม่ให้ธาตุไฟเข้าแทรก
จนกลายเป็นความหลง(ลักษณ์)
และยึดติดกับ mindset (ของลักษณ์) นั้นมากไป

จนขาดสมดุลย์แห่งพลัง

May the force be with you.
(ขอพลังจงสถิตย์อยู่กับท่าน: quote from star wars)

ทุกลักษณ์ พลังสถิตย์อยู่กับท่านอยู่แล้ว

เพียงแต่จะเข้าใจสไตล์พลังของตนอย่างไร
ที่จะให้พลังเหล่านี้
สถิตย์อยู่กับเราได้อย่างสมดุลย์
โดยไม่ถูกธาตุไฟเข้าแทรกเสียก่อน

บทความโดย ผศ.พญ. ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

:) สามารถรับฟังเสียงบรรยายบทความนี้ได้ทางลิงค์นี้ค่ะ :)
https://youtu.be/i3HLQvomugg

#enneagram
#นพลักษณ์
#เอ็นเนียแกรม
#เข้าใจธรรมชาติชีวิต
#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข

“Extrovert กับ Introvert” มีลักษณะอย่างไร? โดย พญ. ทานตะวัน

 

 

“Extrovert กับ Introvert” มีลักษณะอย่างไร?
เรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจตนเอง และ ผู้อื่น


วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2567

ความลำบาก วิชาชีวิตที่ให้คุณค่าต่อจิตใจ และ ชีวิตต่อไปอย่างไร? โดย พญ. ทานตะวัน

 

 

#วิชาลำบาก

ตามธรรมชาติคนเรามักกลัวความลำบาก
เพราะมันไม่สุขสบาย และ โอกาสเสี่ยงที่จะเจ็บหรือย่ำแย่ก็มีมาก

แต่ในมุมกลับ
ความลำบาก
ก็ทำให้เราโตขึ้น
เข้มแข็งขี้น
แข็งแรงขึ้น
เฉลียวฉลาดมากขึ้น
------------------------------------------
เพราะทั้ง
ความเข้มแข็ง
ความอดทน
การเติบโตทางจิตวิญญาณ
ความลุ่มลึก
ความเข้าใจชีวิต
การรู้จักตนเอง
การเห็นใจคนอื่น
ความอ่อนโยน
ความเฉลียวฉลาดมากขึ้น
(เพราะต้องคอยแก้ปัญหา เป็นการลับสมอง ทดลองเชาว์ปัญญา)
และ อีกหลายอย่าง ฯลฯ

ที่เรามีในวันนี้
หลายครั้งเราได้มันมาจากช่วงเวลาที่ยากลำบาก

วิชาลำบาก จึงเป็นวิชาชีวิตอีกวิชาหนึ่งที่มีประโยชน์

---------------------------------------------------------
ไม่มีใครอยากพบความลำบาก
แต่เมื่อวันนึงต้องเจอ
การกลับมาเห็นคุณค่าที่แฝงอยู่ในมัน
จะช่วยให้จิตใจเกิดการเติบโตขึ้นได้มาก

บทความโดย ผศ.พญ. ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

🙂 ท่านใดสนใจรับฟังเสียงบรรยายบทความนี้ รับฟังได้ทางลิงค์นี้ค่ะ 🙂
https://youtu.be/jhYQDKUbqoM

#เข้าใจธรรมชาติชีวิต
#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข

-----------------------------------------------
เครดิตภาพ : Tumulin LINE Stickers

วันอังคารที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2567

เราจะอยู่กับความรู้สึกทุกข์อย่างไร ? โดย พญ.ทานตะวัน

 

 

 ช่วงเวลาที่อยู่กับ

"ความรู้สึกทุกข์" ไม่ง่ายเลย
แล้วเราจะอยู่กับความรู้สึกทุกข์อย่างไร?
ติดตามได้ทางลิงค์นี้ค่ะ


วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567

"ความดี" ควรมาพร้อม "ความอ่อนโยน" เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น? (Spoiler Alert!) โดย พญ.ทานตะวัน

 

 
"ความดี ต้องมาพร้อมกับ ความอ่อนโยน"

ความชั่ว พร้อมทำร้ายคนอื่น
ความดี ก็พร้อมทำร้ายคนอื่นเช่นกัน
ถ้าความดีนั้นอยู่ในหัวใจที่แข็งกระด้าง
ขาดความเมตตา
ขาดความเข้าใจ

หัวใจควรคู่กับความอ่อนโยนเสมอ

เครดิต : มาซาโอะคุง
ชินจังเดอะมูฟวี่ ตอน Burst Serving! Kung Fu Boys Ramen Rebellion (2018)

-----------------------
สปอยล์ !!!!

เป็นการแฝงแนวคิดที่ไปอีกขึ้นหนึ่ง....

คือ โดยทั่วไป มักจบลงตรง ความชั่วแย่ ความดีคือดี

แต่เรื่องนี้พาไปพบว่า
ความดีก็แย่เหมือนกัน
เมื่อยึดติด
เมื่อเต็มไปด้วยการตัดสิน
เมื่อเต็มไปด้วยความคาดหวัง
ทำให้ขาดสติ และ ทำร้ายคนได้ไม่แพ้ความชั่ว
เป็นความดีที่หยาบกระด้าง
โลกก็เศร้าหมอง และ เจ็บปวด
อานุภาพรุนแรง
ไม่แพ้ตอนที่ความชั่วครอบงำเช่นกัน

(ตอนครึ่งแรก เห็นความเสียหายจากความชั่ว-แสงสีดำทำลายล้าง

ตอนครึ่งหลัง เห็นความเสียหายจากความดีที่แข็งกระด้าง-แสงสีชมพูทำลายล้างเช่นกัน)

และ
ตอนท้าย
ความคลี่คลาย คือ
หัวใจที่อ่อนโยน

ความดี พร้อมกับ หัวใจที่อ่อนโยน
คือ ความสุข สงบ และ เบิกบาน
คือ
การคืนความงดงามให้กับโลกที่แท้จริง 🙂

บทความโดย
ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

🙂 ท่านใดสนใจรับฟังบรรยายบทความนี้ สามารถรับฟังได้ทางลิงค์นี้ค่ะ 🙂
https://youtu.be/jl_ldhjSpE4

#เข้าใจธรรมชาติชีวิต
#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข 


วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2567

"การไม่ยอมรับผิดกลับยิ่งทุกข์"เพราะอะไร? และ"การยอมรับผิดช่วยลดความทุกข์"ได้อย่างไร? โดย พญ.ทานตะวัน

 

 



"การไม่ยอมรับผิด กลับยิ่งทุกข์"

ธรรมชาติของจิตใจ
ไม่อยากทุกข์
ไม่อยากรู้สึกแย่กับตนเอง

และ กลไกทางจิตใจ
ที่ใจมักชอบใช้เพื่อปกป้องตนเองไม่ให้รู้สึกผิด รู้สึกแย่กับตนเอง
คือ การไม่ยอมรับผิด

โดยอาจใช้กลไกทางจิตใจ หลายอย่างดังนี้
- การปฏิเสธการรับรู้ความผิดตนเองไปเลย (denial)
- การมีข้อแก้ตัว ให้เหตุผลเข้าข้างตัวเอง (rationalization)
เพื่อให้รู้สึกดีกับตัวเอง
- การโทษคนอื่นแทน เพื่อเพิ่มความดูดีให้ตนเองมากขึ้น
- การหาเหตุผลมาอธิบายเหตุการณ์นู่นนี่ เพื่อให้ความผิดที่เกิดขึ้น มีที่มาที่ไป ตามเหตุผล โดยไม่สัมผัสความรู้สึกผิด รู้สึกแย่ที่ใจตรงๆ (intellectualization)

กลไกทางใจเหล่านี้ทำงานเร็วมาก
เพื่อปกป้องไม่ให้ใจรู้สึกบาดเจ็บ หรือ รู้สึกแย่กับตนเอง

เพราะ ความรู้สึกแย่กับตนเอง เป็นภาวะที่ใจยอมรับได้ยาก

🙁 เพราะอะไร การไม่ยอมรับผิดกลับทำให้ใจทุกข์ ?

ในความจริงหลายครั้งพบว่า
การยิ่งไม่ยอมรับผิดมากเท่าไหร่
กลับไม่ใช่ทางที่ทำให้ใจรู้สึกดีอย่างแท้จริง

เพราะ
- หลายครัังปัญหาไม่ได้ถูกแก้ไข เพราะ วนกับการแก้ตัว
- หลายครั้งปัญหาถูกหมกเม็ด เพราะ ไม่เปิดใจรับรู้ข้อผิดที่เกิดขึ้น
- หลายครั่งกลับยิ่งถลำลึก ทำผิดแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก จนปัญหาขยายกลายเป็นปัญหาใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ จากการไม่ยอมรับผิด หรือ พยายามพิสูจน์ว่าตนเองถูกแล้ว ไม่ผิด จึงเกิดการดื้อแพ่งทำให้ทำผิดซ้ำๆ
- หลายครั้งใจมีความปั่นป่วน เพราะ การพยายามกลบเกลื่อนให้ตนเองไม่ผิด ใจต้องคอยดิ้นรนหาเหตุผลต่างๆนานาเข้าข้างตนเอง
- หลายครั้งใจมีความรู้สึกเจ็บปวด เพราะ ความผิดที่มีก็คอยทิ่มตำใจอยู่

การไม่ยอมรับผิด
จึงกลับส่งผลให้ใจทุกข์

หลายครั้งในความเป็นจริง
ความผิดที่เกิดขึ้น
ไม่ใช้ว่าเราเป็นผู้ทำผิดทั้งหมด
ในเหตุการณ์หนึ่ง
มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
จากเขา
จากเรา
โดยเจตนา
หรือ โดยไม่เจตนา

การพิจารณาอย่างลึกซึ้ง
จะเห็นตามจริงว่า
ส่วนใดที่เราทำผิดไป
เราลองฝึกเปิดใจยอมรับ

🙂 เพราะอะไรการยอมรับผิดตามความเป็นจริงกลับส่งผลให้ใจเป็นสุขมากกว่า ?

เพราะ
1. ใจไม่ต้องคอยหนีความจริง
จะช่วยให้ใจสุขสงบมากขึ้น
เพราะ
ใจที่ต้องคอยหนีความจริง
เป็นการสร้างความโกลาหลให้กับใจ โดยไม่จำเป็น

2. ใจไม่ต้องคอยหนีความรู้สึก โดยเฉพาะความรู้สึกผิด ความรู้สึกแย่กับตัวเอง ความรู้ด้อยค่า เมื่อทำผิด
ใจที่ยอมรับทุกความรู้สึกที่เกิดขึ้น ตามจริง
คือ ใจที่มีคุณภาพดี

3. ใจมีความกล้าหาญ การเผชิญกับความผิด ไม่ใช่เรื่องง่าย การที่ใจยอมรับความผิดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะทำโดยเจตนา หรือ ไม่เจตนาก็ตาม คือ ใจที่กล้าหาญ
ใจที่กล้าหาญ กล้าเผชิญความผิดพลาดไป
คือ ใจที่เข้มแข็งของจริง
ใจที่ "หลบเลี่ยงความผิดพลาด" ที่เกิดขึ้น ใจที่ "ยึดติดว่าตนถูกเสมอ" ใจกลับยิ่งอ่อนแอ

4. ใจมีความรู้สึกโล่งเบามากขึ้น ได้ปลดปล่อยตนเองออกเป็นอิสระ จากความยึดติดว่าตนเองว่าต้องไม่ผิด

5. ใจมีโอกาสได้เรียนรู้ เป็นโอกาสเพิ่มความฉลาดทางจิตใจ

6. ใจมีปัญญาที่ลึกซึ้งขึ้น เพราะ ใจมีความเข้าใจโลก เข้าใจชีวิตมากขึ้น
ใจที่มีปัญญาลึกซึ้งขึ้น จะเกิดความรู้สึกมั่นคงจากข้างใน
และ พร้อมต่อยอดความฉลาดทางใจต่อๆไปได้ง่ายยิ่งขึ้น

7. ได้ลงมือแก้ปัญหาจริงๆสักที
ไม่วนกับการแก้ตัวไปแก้ตัวมา หรือ คอยหลบเลี่ยง
จนปัญหาสุมกองอยู่ที่เดิม

บทความโดย ผศ.พญ. ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

#เข้าใจธรรมชาติชีวิต
#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข

🙂 ท่านใดสนใจรับฟังเสียงบรรยายบทความนี้ สามารถรับฟังได้ทางลิงค์นี้ค่ะ 🙂
https://youtu.be/pmSGQ5S9MPs