วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ความรู้สึกไม่เติมเต็ม อาจมาจากวัยเด็กที่ใจโหยหา.. การเข้าใจความโหยหา ช่วยให้เราเติมเต็มได้อย่างไร ? โดย พญ.ทานตะวัน

 

 

#ความไม่เติมเต็มวันนี้

ความรู้สึกไม่เติมเต็ม...ในวันนี้
หลายครั้งมาจากวัยเด็กที่โหยหาบางอย่าง...

บางคนโหยหา...ความรัก
บางคนโหยหา...การยอมรับ
บางคนโหยหา...การมีหน้ามีตา
บางคนโหยหา...การมีอำนาจ
บางคนโหยหา...การมีคุณค่า
บางคนโหยหา...การได้รับการยกย่องเชิดชู
บางคนโหยหา...ความมั่นคง
บางคนโหยหา...ความมั่งคั่ง
บางคนโหยหา...ความอิสระ
บางคนโหยหา...ความสัมพันธ์ใกล้ชิดอบอุ่น
บางคนโหยหา...ความสงบ
บางคนโหยหา...ความอิสระ
บางคนโหยหา...คำชื่นชม
บางคนโหยหา...ชีวิตในอุดมคติ
ฯลฯ

การได้กลับมาเข้าใจความโหยหา...
ของเด็กน้อยคนนั้น

การที่ใจได้รู้ว่า
เด็กน้อยคนนั้นโหยหาอะไร
การที่ใจได้รู้ว่า
เพราะอะไรเด็กน้อยคนนั้นจึงโหยหาสิ่งนี้นัก

❤ ทำให้หัวใจได้เติมเต็ม

❤ โดยไม่ต้องสมหวัง

เพราะ สิ่งที่เด็กน้อยคนนั้นหวัง...

อาจไม่ได้เป็นสิ่งจำเป็นแล้ว ในตอนนี้
หรือ
อาจไม่ได้ขาดพร่องในความเป็นจริง
หรือ
สามารถเติมเต็มได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องรอคอยใครมาเติม

❤ เมื่อเด็กน้อยในร่างผู้ใหญ่คนนี้
เข้าใจโลก-เข้าใจชีวิตมากขึ้น 🙂

❤ ❤ 😊
"ความเติมเต็ม
หลายครั้งไม่ได้มาจากการสมหวัง

แต่มาจากใจที่เติบโตมากขึ้น"
❤ ❤ 😊

🙂 สามารถรับฟังเสียงบรรยายบทความนี้ได้ทางลิงค์นี้ค่ะ
https://youtu.be/NAUpbgG4bqU 🙂

#เข้าใจธรรมชาติชีวิต
#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข

บทความโดย ผศ.พญ. ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

เมื่อวันที่เราทำผิด เราควรดูแลจิตใจอย่างไร? เพื่อเป็นประโยชน์กับตนเองและคนอื่นต่อไป โดย พญ.ทานตะวัน

 

 

เมื่อวันที่เราทำผิด
เราควรดูแลจิตใจอย่างไร ?

เพื่อเป็นประโยชน์กับตนเอง และ คนอื่นๆ ต่อไป
1. การตระหนักรู้ว่า เราทำผิด
2. การยอมรับความผิด
3. การเรียนรู้จากความผิดพลาดนั้น
4. การโฟกัสกับสิ่งที่แก้ไขได้ จากความผิดพลาดนั้น และ ลงมือแก้ไข

รับฟังได้ทางลิงค์นี้ค่ะ
https://youtu.be/xoM1kMTTns8

#การทำผิดพลาด #เข้าใจธรรมชาติจิตใจ #ยิ่งโตยิ่งสุข

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

4 ขั้นตอน บ่มเพาะ "ความรักความเมตตาต่อตนเอง" โดย พญ. ทานตะวัน

 

 

4 ขั้นตอน
บ่มเพาะ "ความรักความเมตตาต่อตนเอง"

รับฟังได้ทางลิงค์นี้ค่ะ 🙂
https://www.youtube.com/watch?v=3f1m7Cj3NlI

------------------------------------------
Treat yourself as you would a good friend.
"ดูแลตนเอง ในแบบเพื่อนที่ดี" 🙂

เครดิตข้อความโดย Prof. Kristin Neff
https://www.livingcompass.org/wwow/mindful-self-compassion

#เข้าใจธรรมชาติชีวิต
#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

อิทธิพลคำพูดกับความสัมพันธ์ โดย พญ. ทานตะวัน

 

 

#อิทธิพลของคำพูดกับความสัมพันธ์

ปัญหาหนึ่งของความสัมพันธ์ที่พบบ่อย
คือ การไม่ได้ส่ง “คำบอกรัก” "ความรู้สึกดี" กับคนที่เรารัก ทั้งที่รักและ รู้สึกดีกับเขา
หรือ บางทีกลับทำในทางตรงข้ามกลับส่ง “คำพูดที่ทำร้ายจิตใจคนรัก” โดยไม่รู้ตัว ทั้งๆที่รัก
ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกน้อยใจ และ เจ็บปวดได้

#คุณค่าของคำชม

การที่คนที่เรารักทำอะไรได้ดี การชื่นชมเขาเป็นเรื่องสำคัญมากค่ะ
เพราะ จะทำให้เขารู้สึกดีมีกำลังใจ
และ จะทำให้เขารู้ว่าอะไรที่เขาทำได้ดีแล้วค่ะ
เพราะในทางตรงข้ามการไม่บอก
ทำให้อีกฝ่ายไม่รู้ว่าดีหรือยัง
การชมทำให้เกิดความมั่นใจ และ จะทำให้เขาอยากทำสิ่งนั้นต่อค่ะ
ร่วมกับเป็นการได้เติมอาหารใจให้เขาด้วยค่ะ
คำชม คือ การแสดงถึง “ความยอมรับ” “ความรัก”
และ “การเห็นคุณค่า” ในตัวเขา ในสิ่งที่เขาทำ

ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือ อาหารใจที่มนุษย์ทุกคนต้องการ
การได้รับจากคนที่เขารัก ยิ่งมีพลังมากๆค่ะ

#ปัญหาหนึ่งที่พบบ่อย คือ
ด้วยความรักความห่วงใย เมื่อเจอเขา สิ่งที่พูดคุยกับเขา
คือ การคอยอบรมสั่งสอน ด้วยความห่วงใย ด้วยความหวังดี ด้วยเจตนาที่ดีต่อเขา

แต่สำหรับผู้รับการได้ฟังอย่างนี้ทุกครั้ง
จะทำให้เขารู้สึกเหมือนว่า เขายังไม่ดีพอสักที
ทำให้เขาน้อยใจ หรือ รู้สึกไม่มั่นใจในคุณค่า

เพราะ เขารู้สึกเหมือนเขายังมีข้อบกพร่อง
จึงต้องได้รับการอบรมสั่งสอนตลอด

นอกจากนี้ มันแสดงว่าเขาอาจรู้สึกว่ายังไม่ความไว้วางใจในตัวเขามากพอ
เขาจะยิ่งรู้สึกว่า ไม่เคยดี และ ไม่เคยเป็นคนที่น่าภูมิใจได้สักที
นานวัน เขาจะกลายเป็นคนที่ไม่ค่อยภูมิใจในตัวเอง
เพราะ เขาจะรู้สึกลึกๆ ว่าเขายังมีข้อบกพร่อง ที่ต้องแก้ไขตลอด บวกกับไม่เคยได้คำชม
จึงไม่สามารถหาความภูมิใจในตัวเองได้

🙂 การอบรมสั่งสอนเป็นสิ่งที่ดี 🙂
ควรมีตามความเหมาะสม
คือ ไม่ใช่ทำทุกครั้งที่เจอหน้ากัน หรือ พูดคุยกัน

ในทางจิตวิทยา “อิทธิพลของคำพูด” มีความหมายมากค่ะ
การเข้าใจภาษารักข้อนี้ จึงสำคัญในความสัมพันธ์
และ ทำให้อีกฝ่ายเติบโตอย่างรู้คุณค่าในตัวเอง

#แนวทางภาษารักด้วยคำพูดที่เหมาะสม
มีดังนี้ค่ะ
-ภาษารักด้วยคำพูด ประกอบด้วย คำบอกรัก การบอกความรู้สึกดีๆ
เช่น เป็นห่วง คิดถึง หรือ การพูดให้กำลังใจ หรือ พูดชมเชยกัน
- คำพูดควรเป็นเช้าใจได้ง่ายๆ ตรงไป ตรงมา ไม่ซับซ้อน
ไม่ต้องมาเล่นเกมเดาใจว่าอีกฝ่ายทำแบบนี้คิดอะไรอยู่นะ
ซึ่งในชีวิตจริงไม่เหมือนละคร ที่อีกฝ่ายจะรับรู้ความรู้สึกได้แม้เราไม่พูดออกมา

#สิ่งที่ต้องระวัง
- คำพูดที่หวาน แต่ไม่มีความจริงใจ พูดเพื่อเอาใจ แต่ทำไม่ได้ หรือ หวานเวอร์ อาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเลี่ยนๆ น่ารำคาญ หรือ รู้สึกว่า เป็นคำโกหกหลอกลวง
- การชมไปทุกสิ่งเพื่อเอาใจเขา ทั้งที่บางสิ่งเขาทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง อย่างนี้เท่ากับเป็นรังแกเขา
ทำให้เขาขาดการรู้ตัวว่าเขากำลังสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือทำสิ่งที่ผิดอยู่ เขาจะถลำลึกทำสิ่งนั้นต่อไปเรื่อยๆ จะแก้ไขเขาได้ยาก
เมื่อเขาทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทำสิ่งที่ผิด
จำเป็นต้องบอกเขา เพื่อให้เขาได้รู้ตัว เขาจะได้แก้ไขอย่างทันท่วงที

#สิ่งที่ควรเป็น :
- คำพูดชมที่ออกมาจากใจจริงๆ
- ชมในความพยายาม ความตั้งใจดีของเขา
- บอกให้มากขึ้น สำหรับคนที่มองว่าคำพูดไม่สำคัญ เท่าการกระทำ
เพราะ คำพูดที่ดี ช่วยเติมอาหารใจให้ผู้ฟังได้มากค่ะ
คำพูดดีๆ จากคนที่เรารัก เหมือนเป็นน้ำทิพย์ชโลมใจ
ทำให้ผู้ฟังรู้สึกชื่นใจและเกิดกำลังใจขึ้นอย่างมหาศาล

ดังนั้น คนที่ไม่ค่อยแสดงความรู้สึกสึกดีๆ ผ่านคำพูด ควรฝึกแสดงความรู้สึกดีๆเหล่านี้ผ่านคำพูดบ้าง
หลายครั้งมันช่วยทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นมาก ลองดูนะคะ

“คำพูดนั้น สำคัญไฉน สำคัญที่ใจ ของผู้ได้ฟัง”

บทความโดย ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

- รับฟังเสียงบรรยายบทความนี้ได้ทางลิงค์นี้ค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=TklnVfzmt8g&t=18s

#เข้าใจธรรมชาติชีวิต
#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข