วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566

"4 สิ่งที่เปลี่ยนชีวิต"

 

 

❤ ❤ "4 สิ่งที่เปลี่ยนชีวิต" ❤ ❤
------------------------------------------
🙂 1. เห็นความคิดเป็นความคิด 🙂
พึงระลึกเสมอว่าความคิด เป็นความคิด ไม่ใช่ความจริง
เราไม่ต้องเชื่อทุกสิ่งที่สมองคิด
สมองมีหน้าที่คิด
เรามีหน้าที่รู้เท่าทัน ความคิด

เราห้ามความคิดไม่ได้
แต่ฝึกรู้เท่าทันได้

จะช่วยให้เราเป็นทาสของความคิดน้อยลง

เช่น ถ้าสมองมักคิดลบ การรู้เท่าทันจะช่วยให้ตกร่องลบน้อยลง ถ้าสมองมักคิดบวก การรํู้เท่าทันจะช่วยให้ตกร่องบวกน้อยลง
ถ้าสมองมักคิดกังวล การรู้เท่าทันจะช่วยให้ตกร่องกังวลน้อยลง
ถ้าสมองมักคิดเรื่องที่โกรธแค้นหงุดหงิด การรู้เท่าทันจะช่วยให้ตกร่องโกรธแค้นหงุดหงิดน้อยลง

การหมั่นฝึกรู้เท่าทัน" ความคิด"
จะช่วยให้เราเห็นทุกสิ่งตามจริงมากขึ้น ใจเป็นกลางมากขึ้น

การถอยออกมา "เห็นความคิด เป็นความคิด"
ช่วยให้เราได้ "ใช้ความคิด"
และ ไม่ถูกความคิดใช้เราแบบเดิม

------------------------------------------------
🙂 2. เท่าทันอารมณ์ 🙂
อารมณ์เป็นธรรมชาติของใจ
เมื่อมีสิ่งมากระทบ ใจจะมีความรู้สึกได้เป็นธรรมดา
เราห้ามอารมณ์ไม่ได้
แต่ฝึกรู้เท่าทันมันได้
เช่น เมื่อใจรู้สึกโกรธ ให้รับรู้ว่ากำลังรู้สึกโกรธ
ใจกำลังรู้สึกกังวล ให้รับรู้ว่ากำลังรู้สึกกังงล
ใจกำล้งรู้สึกเศร้า ให้รับรู้ว่ากำลังรู้สึกเศร้า
ใจกำลังรู้สึกปลื้ม ให้รับรู้ว่ากำลังรู้สีกปลื้ม
ใจกำลังใจหงุดหงิด ให้รู้รู้ว่ากำล้งหงุดหงิด

ทุกการรับรู้ความรู้สึก จะทำให้เราหาหัวใจตนเองเจอ
เพียงการรับรู้อารมณ์อย่างที่มันเป็น

เราจะตกเป็นทาสของอารมณ์นั้นๆ น้อยลง
หลายคร้้งชีวิตเราพัง เพราะเผลอเป็นทาสอารมณ์ แบบไม่รู้ต้ว

การรู้เท่าทันอารมณ์ การกลับมารู้จักอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น
จะช่วยให้เรารู้จักตัวเอง รู้หัวใจตัวเอง
และ ได้ใช้ชีวิตอย่างเป็นอิสระมากขึ้น ไม่ตกเป็นทาสอารมณ์บงการชีวิตแบบเดิมๆ
เช่น ไม่ถูกความโกรธบงการ ไม่ถูกความกังวลบงการ ไม่ถูกความเศร้าบงการ เป็นต้น

---------------------------------------------

🙂 3. รู้จักความต้องการ 🙂
การรู้ตัวว่ากำล้งต้องการอะไร
เป็นสิ่งสำคัญ
ตัวอย่าง
หลายคนใช้ชีวิต เพียงเพื่อต้องการการยอมรับ จากใครสักคน หรือ จากสังคม แต่ไม่รู้ตัว
ทั้งเหนื่อยทั้งเจ็บปวดทั้งโกรธแค้น
แต่หยุดไม่ได้
เพราะไม่รํู้ตัวว่า ที่ทำทั้งหมดนี้ เพียงเพราะต้องการการยอมรับจากคนอื่น

การรู้ตัวว่าใจกำลังต้องการอะไร
จะช่วยให้เรารู้ว่าเราควรจะดูแลตัวเราอย่างไร จึงจะเหมาะสม
เช่น ถ้าต้องการการยอมรับ
แทนที่จะวนไปอยากได้จากคนอื่น
ควรเริ่มมันจากตัวเราเอง
หลายคนเมื่อยอมรับตัวเองได้ จะต้องการจากคนอื่นน้อยลง

นอกจากการยอมรับ
มีความต้องการอีกมากมายในใจ
ที่ถ้าเราเห็น เราเท่าทัน เราเข้าใจว่าเรากำลังต้องการอะไร
เราจะพบทางที่สว่างแก่ชีวิตเรามากขึ้น
เพราะ เราจะเริ่มรู่ว่า ไม่มีใครเกิดมาเพื่อตอบสนองเรา
คนที่เกิดมาเพื่อตอบสนองเรา จริงๆ คือ ต้วเราเอง

การรู้จักความต้องการ
จะทำให้เราตอบสนองตนเอง ได้ตรงจุดมากขึ้น
และ ลดการรอคอยจากคนอื่นๆ

------------------------------------------------
🙂 4. รับรู้ร่างกายและการกระทำ 🙂
การรับรู้ร่างกายและการกระทำ
จะช่วยให้ใจรู้สึกมั่นคงขึ่้น
#การกลับมารับรู้ร่างกาย
เช่น การกลับมารับรู้การเคลื่อนไหวในแต่ละขณะ
การกลับมารับรู้ลมหายใจ เข้า-ออก
การหมั่นกลับมาร้บรู้สิ่งเหล่านี้
จะช่วยให้ใจแข็งแรงขึ้น
มีกำลังใจขึ้น
เพราะ การที่ใจหมดแรงไม่มีกำล้ง
หลายครั้งเกิดจากการตกเป็นทาสความคิด ตกเป็นทาสอารมณ์ ใจจะเหนื่อยและหมดแรงได้ง่าย
เพราะ ใจจะสั่นไหวไปตามความคิด และ อารมณ์ตลอดเวลา

แต่การที่ใจกลับมารับรู้ที่ร่างกาย การกระทำ การเคลื่อนไหวของกาย
จะช่วยให้ใจกลับมามีกำล้งใจมากขึ้น
เพราะ ใจจะมีความนิ่งขึ้น
เนื่องจากร่างกาย เป็นของที่มีความนิ่ง มีความเป็นกลาง ใจจะไม่กวัดแกว่งมาก เหมือนตอนใจไหลไปกับความคิด และ อารมณ์

การที่ใจได้กลับมาพัก ที่ฐานร่างกายบ่อยๆ
เช่น กลับมารับรู้ลมหายใจเข้า-ออกเป็นพักๆ กล้บมาร้บรู้การเคลื่อนไหวของร่างกายบ่อยๆ
จะช่วยให้ใจได้พัก ใจได้กลับมาสงบนิ่งบ้าง
ใจจะเหนื่อยน้อยลง
และ จะมีกำลัง"ใจ" มากขี้น

กำล้ง"ใจ" ที่แท้ มาจากตนเอง

หมั่นเติมกำลัง "ใจ" ให้ตนเองบ่อยๆ
ด้วยการกลับมาพักใจ จากการกลับมารับรู้ที่ฐานร่างกายบ่อยๆ
เมื่อใจมีช่วงได้นิ่งบ้างบ่อยๆ เป็นระยะๆ
ใจจะมีเรี่ยวแรงมากขึ้นค่ะ

#การกลับมารับรู้การกระทำ
การหมั่นรับรู้ที่การกระทำ
หลายครั้งเราจะเริ่มรู้ตัวว่า การกระทำบางอย่างไม่ทำออกไป จะเป็นผลดีกับตนเองมากกว่า

เมื่อเผลอกำลังจะทำ ถ้าเราหมั่นฝึกฝนจนรู้ตัวเร็วขึ้น
เราจะยั้งต้วเองทัน
เช่น ทุกทีปากไว พูดไปมักมีผลเสียมากกว่าผลดี ก็จะยั้งปากตนเองทันได้มากขี้น
หรือ ทุกทีทำออกไปไว โดยไม่ทันไตร่ตรอง
การเท่าทันการการกระทำ
จะช่วยได้มีเวลาไตร่ตรองมากขึ้น ก่อนจะโพล่งๆ ทำออกไป แบบเดิม แบบไม่ทันรู้ตัว แล้วเกิดความเสียหาย
เมื่อเท่าทันมากขึ้น เราจะยั้งตนเองได้ทันมากขึ้นค่ะ

และ ชีวิตจะกลายเป็นหนังคนละม้วนได้
ตามการเท่าทันตนเองค่ะ

-----------------------------------------------------
#บทส่งท้าย

หมั่นทำ 4 สิ่งนี้บ่อยๆ
จะช่วยให้ความทุกข์ใจลดลง

หลายครั้งเราทุกข์ หรือ ชีวิตเกิดปัญหา(มากขึ้น)
เพราะขาดการเท่าทัน 4 สิ่งนี้ ค่ะ

การเท่าทัน 4 สิ่งนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย
เพราะ ธรรมชาติของใจ
มักจะหลงและไหลไปตามความคิด อารมณ์ ความต้องการ
และ ทำไปแบบไม่รู้ตัว

การจะเท่าทัน 4 สิ่งนี้
จึงจำเป็นต้องหมั่นฝึกฝนบ่อยๆ ทุกวัน วันละหลายครั้งค่ะ
ใจจึงจะมีทักษะนี้มากขึ้น
ช่วยให้เกิดการเท่าทัน 4 สิ่งนี้ได้มากๆขึ้น
ตามการฝึกฝนค่ะ

#สมการใจ
เมื่อความทุกข์ใจลด ความสุขใจจะเพิ่ม

บทความโดย ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

#เข้าใจธรรมชาติจิตใจและร่างกาย

#ยิ่งโตยิ่งสุข

--------------------------------------------
- สามารถรับฟังเสียงบรรยายได้ทาง
https://www.youtube.com/watch?v=oZ1DoL8ZYVU


วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2566

คุณค่าที่ซ่อนอยู่ในความผิดพลาด

 

 


#ด้านดีของความผิดพลาด

หนึ่งในการสอน
ที่ทำให้เด็กทำงานเป็น
และใช้ชีวิตเป็น

คือ การสอนให้เด็ก "เรียนรู้" จาก "ความผิดพลาด" 🙂

"ความผิดพลาด + การนำมาไตร่ตรอง = การเรียนรู้"

ความผิดพลาด
ไม่ใช่เรื่องหายนะ และ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย

การไม่ลงมือทำอะไร เพราะ ความกลัวผิดพลาด
หรือ การคอยซ้ำเติมคนอื่นหรือตัวเองเวลาผิดพลาด

เป็นเรื่องหายนะกว่า

เพราะ มันไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย
นอกจากการทำร้ายตัวเอง และ ผู้อื่นไปวันๆ

สิ่งสำคัญ คือ การเตรียมตัวให้ดีก่อนลงมือทำ

และ เมื่อลงมือทำ เจอความผิดพลาดเกิดขึ้น ให้นำมาเรียนรู้ 🙂

เพราะ "ภายใต้ความผิดพลาด มีขุมทรัพย์ซ่อนอยู่" 😊

บทความโดย ผศ.พญ. ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

----------------------------------------
สามารถรับฟังเสียงบรรยายได้ทาง
https://www.youtube.com/watch?v=WjBAgJMt_cM

-----------------------------------------
เครดิต :
สอนอย่างไร ทำให้เด็กทำงานไม่เป็น
จาก ดร.สมเกียรติ ประธาน TDRI
https://youtu.be/FLqGEyaeWfU
-----------------------------------------
#เข้าใจธรรมชาติชีวิต
#ยิ่งโตยิ่งสุข

"เจ็บแต่จบ" คืออะไร ? กับ "การมูฟออน" ที่แท้จริง เป็นอย่างไร ?

 


#เจ็บแต่จบ

1. การเปิดใจ "รับรู้ความรู้สึก" ที่เกิดขึ้นแบบจริงๆ
การยิ่งไม่ยอมรับความรู้สึกที่เกิดขึ้น
ความรู้สึกที่คนมักรับได้ยาก จึงไม่ยอมรับ
คือ ความรู้สึกเชิงลบ
เช่น
ความอับอาย ความเสียหน้า
ความผิดหวัง ความอ่อนแอ
(บางคนคาดหวังในตนเองแข็งแกร่งตลอด)
ความรู้สึกไร้ค่า ความรู้สึกเสีย self ความรู้สึกเศร้า
(บางคนคาดหวังให้ตนเองเป็นคนร่าเริงตลอด)
หรือ
ความรู้สึกด้านอ่อนไหว
เช่น ความรู้สึกรัก ชอบ คิดถึง
(กับคนที่เราไม่อยากจะรู้สึกแบบนี้) เป็นต้น

ใจจึงเกิดการใช้กลไกทางจิตใจ
เช่น การปฏิเสธการรับรู้ (denial)
หรือ การหลบเลี่ยงไป (avoidance)
หรือ การพยายามหาเหตุผลมาอธิบายให้ดูมีหลักการ (intellectualization)
เพื่อไม่ต้องไปรับรู้ความรู้สึก ใช้ความคิดมาอธิบายเพื่อกลบเกลื่อนความรู้สึก
หรือ
การพยายามหาเหตุผลมาอธิบาย เพื่อให้ตนเองสบายใจ หรือดูดีในสายตาผู้คน (rationalization)
หรือ
ทำเป็นตรงข้าม
จริงๆ คือ รู้สึกชอบมาก แต่ทำเป็นเกลียดมาก (reaction formation) เพราะยอมรับความรู้สึกชอบ... ไม่ได้
เป็นต้น

การที่ใจไม่รับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นแบบจริงๆ
กลับทำให้ความรู้สึก
"มันค้างอยู่ในใจ"

ใจกลับไม่จบ
มูฟออนไม่ได้

2. การเผชิญ (exposure)
การรู้ความจริงไปเลย
แม้ว่าเป็นข่าวร้าย
ที่ผิดหวัง ที่เจ็บปวด ที่ทรมาน ฯลฯ

แต่ใจย่อมสงบกว่า การลุ้น การรอคอยผล หรือ การคอยหลอกตนเองว่ามันโอเค (ทั้งที่จริงๆ เหตุการณ์ เป็นอีกด้าน)

เช่น การทราบว่าตนเองสอบตก
ย่อมทรมานปั่นป่วน กว่าตอนลุ้นผลสอบ

เพราะ แม้จะเป็นข่าวร้าย แต่การทราบที่ชัดเจน
จะช่วยให้ใจไม่ต้องปั่นป่วนจากการลุ้น
จะวางใจไปทางไหนก็ลำบาก
ใจดีใจก็ยังไม่ได้
ใจเสียก็ยังไม่ได้ เช่นกัน
และ ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรด้วย
ใจจึงปั่นป่วนมาก
และ ไม่มีสามารถมีทำอะไรได้ด้วย ได้แต่รอคอยผล
ยิ่งทำให้ปั่นป่วนงุ่นง่าน ทางความรู้สึก และ การใช้ชีวิต

แต่การทราบผล
แม้เป็นผลที่ผิดหวัง ทำให้เจ็บ...
แต่มันคือความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
ใจได้ความชัดเจน

เมื่อใจได้ความชัดเจน
ใจจะพบกับความสงบกว่า
ใจจะได้ทางที่ควรโฟกัส ในทิศทางชีวิตที่เกิดขึ้น
ไม่สะเปะสะปะ เหมือนตอนลุ้นผล

3. ลดการค้างคาใจ
ความจริงหลายครั้งเป็นเรื่องโหดร้าย
แต่การไม่ยอมรับมัน กลับโหดร้ายกว่า
ทำให้เราเกิดความค้างคาใจ
และ เกิดความเสียดาย
เกิดภาวะ "รู้งี้ เราน่าจะ...." "ตอนนั้น เราน่าจะอย่างนี้...ดีกว่าไหม "
เกิดความเสียดาย
เกิดคำถามสงสัยไปเรื่อยๆ
แม้เหตุการณ์จบไปนานแล้ว
แต่คำถาม
รู้งี้
หรือ วันนั้น เราจะอย่างนี้...

มันกลับไม่จบไปจากใจสักที
บางคน วนอยู่เป็นปี
บางคนอยู่ หลายปี
บางคนวนไปตลอดชีวิต

การลดความค้างใจ
ทำอะไร ทำให้สุด
ทำไปจนสุดทาง
แม้สุดท้าย....จะเจ็บ
แต่ใจ....มันจะจบ

ไม่มีอะไรที่ค้างคา
ไม่มีอะไรให้เสียดาย

เสียอะไร ไม่คาใจ เท่าเสียดาย....

ความเจ็บปวด
ไม่มีใครอยากเจอ
แต่บางครั้งการหนีความเจ็บปวด
กลับทำให้ความเจ็บปวดนั้นอยู่กับเรานานมากขึ้น
เพราะ ใจมันไม่จบสักที

เมื่อไหร่ที่เรายอมรับ "ความไม่โอเค"

"ความโอเค" จะเกิดขึ้น
จะเกิดสันติสุขในใจเรา

ถึงแม้เจ็บ
แต่มันก็จะจบลงอย่างแท้จริง

ถ้าเปรียบเป็นแผล
ก็เป็นแผลที่ได้รับการสมานแผลอย่างถูกวิธี
เปิดแผลขึ้นมาล้าง อย่างเหมาะสม
แม้จะเจ็บตอนล้างแผล
แต่แผลจะหายเร็ว หายไวกว่า
และ หายจริง 🙂

ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นแผลหนองอยู่ข้างใน
แล้วเอาแป้งโปะปิดบังแผลไว้ข้างนอก
เข้าทำนอง หน้าชื่น อกตรม

บทความโดย ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

#เข้าใจธรรมชาติชีวิต
#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข

-------------------------
- สามารถรับฟังเสียงบรรยาย "เจ็บแต่จบ" ได้ทาง
https://www.youtube.com/watch?v=xhYRHEmfXYM&t=0s