วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความรุนแรงในครอบครัว

เรื่องของความรุนแรงในครอบครัว เป็นเรื่องที่มีมานาน
นานคู่กับโลกใบนี้เลยทีเดียวค่ะ
เป็นโศกนาฏกรรมอย่างหนึ่งในชีวิตลูกผู้หญิงกันเลยทีเดียว

งานวิจัยหนึ่งพบว่าในประเทศไทยมี ผู้หญิงไทยถูกทุบตี หรือ ทำร้ายจากสามี หรือ คู่รัก ร้อยละ 20-50
และผู้ชายไทยในเขตกรุงเทพฯ ยอมรับว่าเคยทุบตีหรือทำร้ายภรรยา ถึง ร้อยละ 20

ซึ่งไม่น้อยเลยค่ะ ><"

บทความนี้ หมอได้นำเนื้อหาความรู้ บางส่วนบางตอน....
จาก หนังสือ 100(ร้อย)เรื่อง รัก...รุนแรง
เขียนโดย ศ.นพ. รณชัย คงสกนธ์
อาจารย์จิตแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลข้อมูลจากเหตุการณ์จริง และองค์ความรู้มากมายเกี่ยวกับ ความรัก(รุนแรง)ในครอบครัว
และ เพิ่มเติมบางส่วนโดยหมอเบิ่นนี่

#ทำไมผู้ชายถึงทำร้ายผู้หญิง

สาเหตุของพฤติกรรมรุนแรงพบได้ จาก 3 ประการ

1. มาจากการใช้สารเสพติด เช่น สุรา ยาบ้า หรือ สารเสพติดอื่นๆ เพราะ สารเสพติด ทำให้ขาดความยับยั้งชั่งใจ

2. จากความผิดปกติในเนื่อสมอง เช่น เป็นโรคทางสมองบางชนิด หรือ เกิดจากสารเคมีในสมองผิดปกติ
ทำให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงโดยไม่รู้ตัว ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ไม่รู้อะไรถูกอะไรผิด

3. เกิดจากนิสัย บุคลิกภาพส่วนตัว
- ถูกกระทำทารุณกรรมตั้งแต่เด็ก
- โตมาในครอบครัวที่บิดามารดาทะเลาะเบาะแว้งกัน
- เลียนแบบการแสดงความก้่าวร้าว เรียนรู้มาว่าเป็น วิธีที่ได้ผล
- เติบโตมาในครอบครัวที่ผู้ชาย เป็นใหญ่
- มีความเชื่อว่า ผู้หญิงเป็นสมบัติของผู้ชาย จะทำอะไรก็ได้
- บุคลิกภาพนิยมความก้าวร้าว
- ชอบทำร้ายผู้อื่น ทารุณกรรมสัตว์ เห็นเป็นเรื่องสนุก
- การคนที่มีอารมณ์แปรปรวนง่าย
- บุคคลิกโมโหง่าย เก็บอารมณ์ไม่อยู่
- มีความยกย่องนับถือตนเองต่ำ
- การต้องการควบคุมผู้อื่น
- การต้องการแสดงพลังความเป็นชาย
- อิจฉาริษยาคู่ของตน

ในทางจิตวิทยา บุคลิกก้าวร้าว รุนแรง เกิดจาก ในวัยเด็กได้ดังนี้
1. เด็กในกรอบ
คือ เด็กที่พ่อแม่เลี้ยงดูให้อยู่ในกรอบมาก จับผิดลูกทุกอย่าง ทำให้เด็กกลุ่มนี่้ โตมามีความเคร่งเครียดในตัวเองสูงมาก รู้สึกผิดได้ง่าย ไม่ค่อยได้ทำอะไรตามใจตัวเอง จึง มีวิธีแก้ปัญหาเวลาเครียดค่อนข้างจำกัด  และ เวลาระเบิดอารมณ์จึงรุนแรงได้มาก

2. เด็กที่ถูกตามใจสุดๆ
อยากได้อะไรต้องได้ กลายเป็นเด็กอ่อนปวกเปียก เพราะมีคนคอยปกป้องอย่างเต็มที่ กลายเป็นคนไม่สามารถเผชิญปัญหาโลกภายนอกได้อย่างเต็มที่ ร่วมกับเป็นคนเอาแต่ใจตัวเอง ไม่เห็นคุณค่าของผู้อื่น เมื่อเกิดปัญหาจึงจัดการได้ไม่ดี และ ไม่ให้เกียรติผู้อื่น

3. เด็กที่เป็นโรคขาดรัก
คิดว่าพ่อแม่่ไม่รัก กลายเป็นปมด้อยฝังใจ ขาดความเชื่อมั่น ขาดการนับถือตนเอง
ทำให้มีความโกรธเคืองบุคคลรอบข้าง จิตตกได้ง่ายและกลายเป็นคนโกรธ โมโหง่าย
และ อาจมีพฤติกรรมเรียกร้องความรักหรือแสดงอำนาจเหนือเพื่อข่มคนอื่น เพื่อสร้างปมเด่น ทดแทนความรู้สึกด้อยค่า

ปัจจัยกระตุ้นจากอีกฝ่าย คือ
1. คู่สมรสไม่ปรองดองกัน ทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยๆ เช่น แนวคิดที่แตกต่าง ปรับตัวเข้าหากันไม่ได้
2. ไม่รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน
3. คู่สมรสที่มีลักษณะ กระตุ้นให้โมโห
เช่น พูดเยอะ ชอบบ่น ชอบด่าว่า หรือ นำเรื่องของอีกฝ่ายไปประจานในสังคมต่างๆ เพื่อให้อีกฝั่งอับอาย เช่น กลุ่มเพื่อนสามี คนแถวบ้าน หรือ ที่ทำงาน เป็นต้น
4. มักแสดงท่าที หรือ พูดจา ข่มให้อีกฝ่ายรู้สึกต่ำต้อย ไม่ให้เกียรติ
จะกระตุ้นให้อีกฝั่งโมโหได้มาก กระตุ้นปมด้อย จนอีกฝั่งอยากแสดงปมเด่นออกมา เพื่อลดความรู้สึกต่ำต้อย
5. ลักษณะกระตุ้น ความหวาดระแวง ขี้หึง ของสามี ทำให้อีกฝ่าย เกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในความสัมพันธ์ กระตุ้นความรู้สึกหึงหวงอยู่ตลอดเวลา
6. ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ เช่น คู่สมรสวัยรุ่น
7. ลักษณะต้องพึ่งพิงสามีมาก เช่น จากปัญหาฐานะ เงินทอง  หรือ จากความรู้สึกยึดติดสามีมาก ขาดเขาไม่ได้ ทำให้ อีกฝั่ง รู้สึกว่าตนเองมีอำนาจเหนือกว่ามาก จะทำอะไรก็ได้ ขาดความเกรงใจ
8.สถานภาพของผู้หญิงที่ด้อยกว่ามาก ทำให้ผู้หญิงขาดอำนาจการต่อรอง และ ต้องยอมทนอยู่กับปัญหา

#ทำไมผู้หญิงถึงอดทนต่อการถูกทำร้าย

- ยังต้องการดูแล และ ช่วยเหลือจากสามี ทั้งทางเงินทอง และ ทางใจ
- อดทนเพื่อลูก
- มีความรักเต็มเปี่ยมกับสามี
- คาดหวังการชนะใจ ในที่สุด
- ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดการยอมรับนับถือตนเอง
- รู้สึกว่าตนเองบกพร่อง เป็นต้นเหตุให้สามีโกรธ
- มีทัศนคติว่า ผู้หญิงต้องมีหน้าที่ปรนนิบัติสามี และ ต้องอดทนกับทุกสถานการณ์
- มองว่าการกระทำความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ
- กลัวถูกทอดทิ้ง กลัวความโดดเดี่ยว กลัวความเหงา
- ไม่อยากให้ภาพลักษณ์เสีย หรือ กลัวถูกมองว่าล้มเหลวจึง ปกปิดไว้ เพื่อให้ภาพภายนอกออกมาดูดี
- ไม่มีที่ปรึกษา ขาดที่พึ่ง

#ทำอย่างไรเมื่อถูกทำร้าย

- ตั้งสติให้ดี
- พยายามเอาตัวออกมาจากสถานการณ์ที่รุนแรง
- ปรึกษา และ ขอความช่วยเหลือจากคนที่ไว้ใจได้ เช่น จากเพื่อน คนในครอบครัว
-ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ ที่สามารถช่วยหาสาเหตุความรุนแรงในครอบครัวแล้วให้การรักษาและคำแนะนำ แก่ภรรยาและสามีได้
โดยถ้าสามีไม่พร้อมมา ภรรยาสามารถมาขอคำปรึกษาก่อนได้
- รู้สิทธิของตนเอง ที่จะปฏิเสธไม่ให้ความรุนแรงเกิดขึ้นอีก
-ในกฏหมายสามารถแจ้งความได้
- ในกรณีฉุกเฉิน แจ้งตำรวจ แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 191 หรือ ขอความช่วยเหลือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ เช่นมูลนิธิต่างๆ เป็น ต้น

บทความนี้ นำบางส่วนบางตอน มาจาก หนังสือ 100(ร้อย)เรื่อง รัก...รุนแรง
เขียนโดย ศ.นพ. รณชัย คงสกนธ์

เพิ่มเติมบทความบางส่วนโดย ผศ.พญ. ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล


เครดิตภาพ:  http://www.mcot.net/site/content?id=528ef764150ba0227000026d#.U9u2iaP5PGg