วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2567

“การร้องไห้ การปล่อยโฮ คือ ช่วงเวลาที่ดีต่อใจ” เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น? โดย พญ.ทานตะวัน

 

 

“การร้องไห้ การปล่อยโฮ ไม่ใช่ความอ่อนแอ

แต่คือช่วงเวลาที่ดีต่อใจ”

เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น?

การร้องไห้มีความหมายต่อใจอย่างไร?

สามารถติดตามรับฟังได้ทางลิงค์นี้ค่ะ 🙂
https://youtu.be/jDp3rIhGCSg

#เข้าใจธรรมชาติชีวิต
#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2567

Enneagram : แนวทางการเติบโตของชาวลักษณ์ 2 (ผู้ให้) โดย พญ.ทานตะวัน

  

 
แนวทางการเติบโตของชาวลักษณ์ 2 (ผู้ให้)

การให้เวลาสงบเงียบกับตนเอง
การรับรู้ความต้องการของตนเอง
การใส่ใจดูแลตนเองอย่างดีเหมือนที่ดูแลคนสำคัญ
การให้ความสุขตนเองด้วยตนเอง โดยไม่ต้องรอคนอื่นมาเติมเต็ม

ท่านใดสนใจรับฟังรายละเอียดเพิ่มเติม
สามารถติดตามได้ทางลิงค์นี้ค่ะ 🙂
https://youtu.be/U0yTpa3voYc

#enneagram
#การเติบโต
#ลักษณ์2

#เข้าใจธรรมชาติชีวิต
#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข


วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2567

เวลาที่เหนื่อยล้า "ความใจดีจากตัวเอง" ช่วยให้พลังชีวิต โดย พญ.ทานตะวัน

 

 
เวลาที่เหนื่อยล้า

"ความใจดี"

ช่วยให้พลังชีวิต

ความใจดีจากผู้อื่น

ความใจดีจากตัวเราเอง

ล้วนเป็นพลังที่งดงาม

ความใจดีจากผู้อื่น เราไม่สามารถควบคุมให้มีได้

แต่ความใจดีจากตัวเอง เราสามารถสร้างให้เกิดได้เสมอ

เริ่มสร้างพลังที่งดงาม
ด้วยการหมั่นฝึกความใจดีต่อตนเอง

ท่านใดสนใจรับฟังเสียงบรรยายบทความนี้
รับฟังได้ทางลิงค์นี้ค่ะ
https://youtu.be/0KdH5-K9FNI

#ใจดีต่อตนเอง
#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข 


วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2567

"ตัดสิน" "ปักใจ" "ด้อยค่า" นำมาสู่การสื่อสารที่เป็นพิษได้อย่างไร? โดย พญ. ทานตะวัน

 

 
ลักษณะที่เป็นพิษในการสื่อสาร
อันที่ 2 คือ การหลงใหลในการตัดสิน (Judgment)

ในการสื่อสารที่หลงใหลในการตัดสิน
จะปิดกั้นการเปิดใจรับสารจากอีกฝ่าย

การตัดสินเป็นสิ่งที่ห้ามไม่ได้
เป็นธรรมชาติของความคิด และ จิตใจ

เพราะ มนุษย์มีความคิด มีความรู้สึก มีความชอบ มีความไม่ชอบ มีความเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย มีความรัก มีความเกลียดชัง
ฯลฯ

การตัดสินจึงเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา

แต่สิ่งที่สร้างปัญหาในการสื่อสาร
คือ การหลงใหลในการตัดสิน

อาการหลงใหลในการตัดสิน คือ
1. เมื่อหลงใหลเข้าไปใน "ความคิด" ที่ว่า
มุมมองของเราเท่านั้นที่ถูกต้อง
(my viewpoint is the only viewpoint)
คือ เมื่อไหร่ก็ตามที่เราปักใจว่า
มีแต่มุมมองของเราเท่านั้นที่ถูกต้อง
เป็นความจริงเพียงหนี่งเดียวในเรื่องนี้
อะไรก็ตามที่มองไม่เหมือนเราในเรื่องนี้ คือ ผิด

เมื่อภาวะนี้เกิดขึ้น หมายถึงว่า เรากำลังหลงใหลในความคิด และ การตัดสิน

และ ความหลงใหลที่เกิดขึ้นนี้ กำลังจะสร้างปัญหาในการสื่อสารได้

2. เมื่อไม่อยากรับรู้ความเห็นของอีกฝ่ายที่แตกต่าง
ตั้งแต่
ไม่อยากฟัง ไปจนถึงไม่อยากทำความเข้าใจมุมมองของอีกฝ่าย
นั่นคือ เกิดภาวะผลักไส "ความเห็นอื่นๆ ที่แตกต่างจากความคิดเรา" ออกไป

เมื่อเกิดการหลงใหลในความคิดตัดสิน
จะสั่นคลอนการสื่อสาร และ ความสัมพันธ์
เพราะ การแสดงออก
ที่ออกมาจากการเชื่อว่าความคิดของเราเท่านั้นที่ถูกต้อง
การไม่ฟังความเห็นอื่น
รวมถึงการผลักไสความเห็นคนอื่นออกไป
จะทำให้คู่สนทนารู้สึกแย่ได้อย่างมาก
จนไม่สามารถสื่อสารกันต่อได้
และ ก่อให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ตามมา

เพราะ ไม่มีใครอยากถูกตัดสิน ไม่มีใครอยากถูกด้อยค่า

#วิธีลดอาการเป็นพิษ
1. เท่าทันว่า "กำลังการตัดสิน"
2. ฝึกลดเป็นทาส "ความคิดตัดสิน"
หมั่นมองให้เห็นว่า
ธรรมชาติของการตัดสิน คือ ความคิดเห็นชนิดหนึ่ง ในช่วงเวลาหนึ่ง เท่านั้น
ไม่ใช่ความจริงเพียงหนึ่งเดียว

ลองสังเกตหลายเรื่อง
เมื่อเรามีข้อมูลมากขึ้น เรารู้มากขึ้น เรามีประสบการณ์ชีวิตมากขึ้น เราเข้าใจโลก เข้าใจชีวิตมากขึ้น
เรื่องที่เราเคยเชื่อถือมากๆ ก็เปลี่ยนไปได้

นั่นคือ เรื่องที่จริงมาก "สำหรับเรา" ตอนนี้
เมื่อเวลาผ่านไป เราอาจเห็นมันในอีกแบบเลยก็ได้

แต่การหลงตกเป็นทาสมัน
อาจสร้างปัญหาในการสื่อสาร และ ความสัมพันธ์ไปอย่างน่าเสียดาย

3. ฝึกฟังและ ทำความเข้าใจ
ฝึกฟัง และ ทำความเข้าใจตนเอง
-ที่มาของการตัดสินของเรามาจากไหน
ฝึกฟัง และ ทำความเข้าใจอีกฝ่าย
-ที่มาของความคิดเห็นที่แตกต่างจากเราเกิดจากอะไร และ เป็นอย่างไร

ทุกพฤติกรรมล้วนที่มา การตัดสินก็เช่นกัน

4. การเปิดใจที่จะรับฟัง เปิดใจทำความเข้าใจมุมมองที่แตกต่างจากเรา ไม่ได้หมายความว่า เราต้องเห็นด้วยกับเขา
แต่หมายถึง
เราได้เปิดโอกาสให้เราได้เห็นมุมมองอื่นๆ มากขึ้น
และ ประโยขน์ในเรื่องการสื่อสาร
คือ การให้เกียรติความเห็นคนอื่น
ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสื่อสารทีดี และ เป็นโอกาสสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อไป

5. หมั่นตระหนักว่า
การสื่อสารที่ดี ไม่ได้มาจากการตัดสิน แต่มาจากการทำความเข้าใจ

#วุฒิภาวะที่ดีต่อใจเราก็เช่นกัน
---------------------------------------

:) ท่านใดสนใจรับฟังบทความมนี้เพิ่มเติม
สามารถรับฟังได้ทางลิงค์นี้ค่ะ :)
https://youtu.be/xv0VGZdu99c


-----------------------------------
บทความอ้างอิงจาก : https://www.holisticwellnesspractice.com/hwp-blog/2020/06/11/toxic-communication-patterns-explained


วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2567

Enneagram : แนวทางการเติบโตของชาวลักษณ์ 1 (คนต้องการความสมบูรณ์แบบ) โดย พญ.ทานตะวัน

 

 

แนวทางการเติบโตของชาวลักษณ์ 1
(คนต้องการความสมบูรณ์แบบ)

"การกลับมายอมรับธรรมชาติในตนเอง และ สิ่งรอบตัว"

ท่านใดสนใจ สามารถติดตามรับฟังได้ทางลิงค์นี้ค่ะ 🙂
https://youtu.be/A8NTcBixu0I

#enneagram
#การเติบโต
#ลักษณ์1

#เข้าใจธรรมชาติชีวิต
#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2567

"การด่วนสรุป" "นักอ่านใจ" "นักทำนาย" นำมาสู่การสื่อสารที่เป็นพิษได้อย่างไร? โดย พญ. ทานตะวัน

 

 

Toxic communication patterns อันแรก คือ
1. ด่วนสรุป (Jumping to Conclusions)

การด่วนสรุป เป็นการสื่อสารที่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่ดี
เพราะ เหมือนไม่ได้รับฟัง และ มั่นใจไปแบบผิดๆ
จึงสร้างความเข้าใจที่บิดเบือนจากความจริงไปได้มากๆ

✍️ที่มาของการด่วนสรุปเกิดขึ้นจาก 2 ลักษณะดังนี้

1.1 นักอ่านใจ
เชื่อว่าตนเองอ่านใจอีกคนได้ (Mind-reading)
คือ การเชื่อว่าตนรู้ว่าอีกฝ่ายกำลังคิดอะไร เชื่อว่าตนรู้ว่าอีกฝ่ายกำลังต้องการอะไร เชื่อว่าตนรู้ว่าอีกฝ่ายกำลังรู้สึกอะไร เชื่อว่าตนรู้ว่าอีกฝ่ายกำลังจะทำอะไร เป็นต้น
การเชื่อว่าตนอ่านใจเขาได้ ทำให้เกิดภาวะทึกทัก..ไปเอง
ซึ่งสร้างความอึดอัดขัดเคืองใจกับผู้ที่กำลังถูกอ่านใจ
และ คนที่เชื่อว่าตนอ่านใจคนอื่นได้ มักมีลักษณะเชื่อมั่นในตนเองว่าตนเองเป็นผู้รู้ใจคน
จึงไม่ค่อยได้ถามเขาจริงๆว่า จริงๆแล้ว เขาคิดอย่างไร เขารู้สึกอย่างไร เขาต้องการอะไร
จึงขาดโอกาสที่จะรู้จักความรู้สึกที่แท้จริงของอีกฝ่าย
เพราะ เชื่อสิ่งที่ตนเองทึกทักอย่างหมดใจ และ มีความมั่นอกมั่นใจว่ารู้จริง

จึงมักเกิดปัญหาความสัมพันธ์ที่ทั้งชวนให้อึดอัดและน่ารำคาญได้ทั้งในระยะสั้น และ ในระยะยาวได้

1.2 นักทำนาย
เชื่อว่าตนคาดการณ์ได้แม่นยำ (Fortune Telling)
คือ การเชื่อว่าตนคาดการณ์ได้แม่นยำ ทำนายสิ่งต่างๆที่จะเกิดได้อย่างถูกต้อง
ความมั่นใจในการคาดการณ์นี้ นำไปสู่การปักใจ
เช่น คาดการณ์ไปในทางด้านลบ
แต่ไม่รู้ตัวว่ากำลังคาดการณ์ แต่ดันเชื่อว่าสิ่งที่ตนคาดการณ์คือเรื่องจริงแน่ๆ
ทำให้เกิดอาการตื่นตระหนก วิตกกังวลเกินเหตุ หรือ มองคนในแง่ร้าย (ตามการมโน) ไป
การสื่อสารที่ออกมา จะทำให้อีกฝ่ายจะรู้สึกเหมือนถูกจับผิด ถูกคาดคั้น จึงเกิดปัญหาการสื่อสารและเกิดปัญหาความสัมพันธ์ต่อมาได้ เป็นต้น
หรือ คาดการณ์ไปด้านบวก
แล้วเชื่อว่าที่ตนคาดการณ์ถูกต้อง เหมือนวิ่งอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์ ทำให้ขาดการรับรู้ความจริงที่กำลังเกิดขึ้น
ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกรำคาญ หรือ เหนื่อยหน่าย เหมือนคุยกับคนที่ไม่รับรู้ความจริง เหมือนคุยกับคนที่คุยไม่รู้เรื่องได้
#วิธีลดอาการเป็นพิษในข้อนี้

วิธีแก้ไขทั้ง 2 ลักษณะคือ

1. ฝึกฟังให้จบ (เน้นฟังให้จบ เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญมาก)
หลายครั้งคนที่มีลักษณะนี้ มักจะฟังไม่จบ
เพราะ เชื่อเสียงในหัวตนเอง
มากกว่าเสียงที่ผู้พูดกำลังบอกกับเรา

2. ฝึกฟังอย่างใส่ใจ การฟังอย่างใส่ใจ
คือ การฟังเพื่อให้เข้าใจว่าผู้พูดกำลังรู้สึกอะไร เขากำลังต้องการสื่ออะไร เขากำลังคิดอะไร
การฟังอย่างใส่ใจ
คือ การฟังเพื่อรับรู้ใจเขา ในสิ่งที่เขากำลังสื่อออกมา
ไม่ใช่ มาจากหัวสมองเราที่กำลังคิดขึ้นมา

3. เท่าทันงานมโนของตนเองทั้งการชอบอ่านใจ และ การชอบทำนาย
อย่าให้งานมโนมาบดบังความเข้าใจคนที่เรากำลังสนทนา

4. ใช้การถามเพิ่มเติม แทนการทึกทัก
การถาม เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ช่วยเพิ่มความเข้าใจ

5. อย่าเอาตัวตนไปผูกกับการอ่านใจคนเก่ง หรือ คาดการณ์แม่นยำ
หลายคนรู้สึกภูมิใจ หลงตัวว่า
ตนเองอ่านใจคนเก่ง ทำนายแม่นยำ เหมือนเครื่อง X-Ray ใจ
ตระหนักไว้ว่า
"ความมั่นใจตรงนี้ ทำลายมิตรภาพมานักต่อนักแล้ว"
#อย่าหาทำ

---------------------------------------

หมายเหตุ :
1 รูป 1 ลักษณะค่ะ
จะค่อยๆ ทะยอยลงค่ะ

บทความโดย ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

---------------------------------------
:) ท่านใดสนใจรับฟังเสียงบรรยายบทความนี้ สามารถรับฟังได้ทางลิงค์นี้ค่ะ
https://youtu.be/gM8o5RZIi2s?si=AWEZLUcYZRahMR5k

------------------------------------------
บทความอ้างอิงจาก : https://www.holisticwellnesspractice.com/hwp-blog/2020/06/11/toxic-communication-patterns-explained

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2567

"ฝึกวางอดีต เพื่อเวลานี้ที่ดีกว่า" โดย พญ.ทานตะวัน

 

 

#ฝึกปล่อยวางอดีต

วันนี้ฝึกปล่อยอดีตที่ไม่ควรจดจำ เรื่องที่ผิดพลาดฝังใจบ้าง

พร้อมเปิดตา เปิดใจ ดูสิ่งดี ๆ ในชีวิตที่ยังมีอยู่

และจะพบว่าสิ่งที่มีอยู่ในตอนนี้ มีคุณค่าพอที่จะเดินต่อไป

การยิ่งไม่ปล่อยวางอดีต อดีตนั้นจะยิ่งมาก่อกวนใจ

จนอาจไม่เป็นอันทำอะไร และ อาจทำให้สูญเสียสิ่งดีๆที่มีอยู่ตอนนี้ไปอย่างน่าเสียดาย

บทความโดย พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

🙂 ท่านใดสนใจรับฟังเสียงบรรยายบทความนี้ สามารถรับฟังได้ทางลิงค์นี้ค่ะ 🙂
https://youtu.be/DyE5Q1y9XsE

#อดีตคือการเรียนรู้และฝึกปล่อยวาง
#เวลาปัจจุบันคือเวลาสำคัญที่สุด
#เพจยิ่งโตยิ่งสุข

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2567

การเผชิญกับความเจ็บปวด มีความหมายกับจิตใจอย่างไร ? โดย พญ. ทานตะวัน

 

 
#การเผชิญความเจ็บปวด

ความเจ็บปวด
คือ สิ่งที่ทนได้ยาก
การหลบเลี่ยงไม่อยากเผชิญกับมัน จึงเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา

แต่การฝึกเผชิญกับความรู้สึกที่เจ็บปวด
และ ทำความเข้าใจความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้น

กลับช่วยให้เจ็บปวดจากมันน้อยลง

การเรียนรู้ชีวิตจากความเจ็บปวด
กลับทำให้เข้าใจคุณค่าของชีวิต และ ตัวเรามากขึ้น

การหลบเลี่ยงความเจ็บปวด กลับยิ่งทำให้เจ็บปวด
การเผชิญกับมัน กลับทำให้เจ็บปวดน้อยลง

บทความโดย พญ. ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

-----------------------------------------

🙂 ท่านใดสนใจรับฟังเสียงบรรยายบทความนี้
สามารถรับฟังได้ทางลิงค์นี้ค่ะ 🙂
https://www.youtube.com/watch?v=wbtaPi7AY5g

#เข้าใจธรรมชาติชีวิต
#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข