วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566

อย่าให้ความเศร้าที่เข้ามา พัดพาความสุขหายไปจากใจทั้งหมด โดย พญ,ทานตะวัน

 

 

อย่าให้ความเศร้าที่มากระทบ
พัดพาความสุขของเราหายไป(ทั้งหมด)

เครดิตข้อคิดจาก :
Kanin The Movie
-----------------------------------------------
ธรรมชาติของอารมณ์ เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้
และ แปรเปลี่ยนไปตามสิ่งที่มากระทบ

พื้นฐานของสภาพใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ที่ช่วยเรารับมือกับความทุกข์ที่เข้ามา
ซึ่งมักเข้ามาโดยไม่คาดคิด

เวลาเจอเรื่องไม่สมหวัง
ความทุกข์เกิดขึ้นเป็นธรรมดา
พื้นฐานสภาพใจที่ดี จะช่วยใจไว้ได้

แม้ในยามที่ใจมีทุกข์
ความสุขก็ไม่หายไปจากใจทั้งหมด

เพราะในช่วงเวลาเดียวกัน
มันมีสิ่งดีๆที่เราสัมผัสได้ในปัจจุบันขณะ
และ สภาพใจที่มีคุณภาพที่ดี
จะสามารถสัมผัส "ความสุข" ในปัจจุบันขณะได้

บทความโดย : พญ. ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

----------------------------------------
สามารถรับฟังเสียงบรรยายบทความนี้ได้ทางลิงค์นี้ค่ะ
https://youtu.be/t-qI5ja8gLc

#เข้าใจธรรมชาติชีวิต
#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข 

วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566

การปรากฏของ "คำตอบที่แท้จริง" ของใจ โดย พญ.ทานตะวัน

 

 
"คำตอบที่แท้จริง"🙂

การฝึกปล่อยใจผ่อนคลาย
ไม่ต้องเร่งหาคำตอบ

คำตอบที่แท้จริง จึงจะปรากฏ

ซึ่งบอกไม่ได้ว่า เมื่อใด

ต้องฝึกใจเย็น
ฝึกอยู่กับความรู้สึก
ฝึกอยู่กับสิ่งที่ควบคุมไม่ได้

#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข

บทความโดย ผศ.พญ. ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

-----------------------------------
- สามารถรับฟังเสียงบรรยายบทความนี้ได้ทางลิงค์นี้ค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=ggDv_K9LpCM


วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2566

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566

รับฟัง "จุดแข็ง-จุดอ่อน" ของคนทุกลักษณ์ ในศาสตร์นพลักษณ์ โดย พญ.ทานตะวัน

 

 

รับฟัง
"จุดแข็ง-จุดอ่อน"
ของคนแต่ละลักษณ์
ในศาสตร์นพลักษณ์ (enneagram)

ได้รวบรวมไว้ครบทุกลักษณ์ในลิงค์ youtube นี้ค่ะ
😀
https://www.youtube.com/watch?v=XMqPisdJmT0...

การรู้ตัว คือ ประตูของการเติบโต
นำมาสู่ชีวิตที่สมดุลขึ้น 🙂

#นพลักษณ์
#enneagram
#เข้าใจธรรมชาติชีวิต
#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข


บทความโดย พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

หลายครั้งการไม่ลงมือทำ มาจาก "ความกลัว" ที่ซ่อนอยู่ และ แนวทางคลี่คลาย โดย พญ.ทานตะวัน

 

 


หลายครั้งการไม่ลงมือทำ (ทั้งที่รู้อยู่ว่าควรทำ)

มาจาก "ความกลัว...." ที่ซ่อนอยู่

- กลัวเห็นตนเองล้มเหลว
- กลัวเห็นตนเองไม่เจ๋ง ไม่เก่ง ไม่เลิศ ไม่ฉลาด
อย่างที่คิดไว้ (หรือ เคยคุยไว้)
- กลัวเห็นตนเองไม่มีความสามารถ อย่างที่เคยเข้าใจ
- กลัวทำไม่ได้
- กลัวเสียเซลฟ์ เสียความมั่นใจ
( คือ พอลงมือทำ เราไม่แจ่ม อย่างที่่เราเคยเข้าใจ หรือ เคยคุยไว้)
- กลัวเสียหน้า
- กลัวเสียใจ
- กลัวเจอความยุ่งยากลำบาก
- กลัวเจออุปสรรค
- กลัวเจอสิ่งกวนใจ
- กลัวเจอความวุ่นวาย
- กลัวเห็นตนเองว่า ที่ผ่านมาเหลวไหลเหลือเกิน
(การลงมือทำ เป็นการยอมรับว่าที่ผ่านมา ควรทำแบบนี้ตั้งนานแล้ว
แต่ด้วยความกลัว จนเกิดพฤติกรรมเหลวไหล)
- กลัวเจอสิ่งที่รู้สึกไม่โอเค
- กลัวรู้สึกแย่กับตัวเอง
- กลัวเห็นความเปราะบาง
- กลัวทำผิด
- กลัวทำได้ไม่ดี
- กลัวความผิดพลาด
- กลัวผลออกมาไม่ดี
- กลัวเจอความเจ็บปวด
- กลัวเจอความผิดหวัง
- กลัวเจอความไม่สบาย ไม่ชิล
- กลัวความไม่สนุก
- กลัวเสียเวลา
- กลัวความขัดแย้ง
- กลัวความไม่ปลอดภัย กลัวเจอสิ่งที่น่ากลัว (ซึ่งบางทีก็ยังนึกไม่ออกว่าอะไรที่น่ากลัว แต่กลัว)
- กลัวเจอปัญหา (โดยเฉพาะปัญหาที่รู้สึกไม่ถนัด)
- กลัวเจอสิ่งที่ไม่ถนัด (ไม่อยากทำสิ่งที่ไม่ถนัด มันทำให้เสียเซลฟ์)
- กลัวเหนื่อย
- กลัวอะไรไม่รู้.. แต่รู้สึกว่ามันน่ากลัวแหละ 😅
และ อีกหลายๆ กลัวที่ซ่อนอยู่
ฯลฯ

------------------------------------------

❤ #สิ่งที่ช่วยคลี่คลาย ❤

1. ถ้ามันเป็นสิ่งที่ควรทำ / ต้องทำอยู่แล้ว
ท-ป-ล คือ ทำไปเลย
ยิ่งปล่อยนาน ความกลัวจะยิ่งพอกพูนในใจ ทับถมทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ
หายใจเข้า-ออกช้าๆลึกๆ หลายๆ รอบ จนใจสงบ มั่นคงขึ้น
แลัวลงมือทำไปเลย
เมื่อลงมือทำ
หลายครั้งจะพบว่า เราทำได้มากกว่าที่เราคิด
การลงมือทำ ช่วยให้เราเก่งขึ้น
ที่เรียกว่า Learning by doing

ชนิดที่การคิดอย่างเดียว ไม่พอ
ต้องอาศัยการลงมือทำ จึงพอ

ยิ่งทำแล้วเกิดความผิดพลาด
ยิ่งได้เรียนรู้จากของจริง
ซึ่งดีกว่า การวนอยู่โลกความคิดเยอะมากค่ะ

2. เรื่องไหน ไม่ถนัด
หาคนช่วยเหลือ
ทักษะการขอความช่วยเหลือ เป็นทักษะชีวิตที่สำคัญ
เราไม่จำเป็นต้องถนัดทุกเรื่องในชีวิต

3. จับ ความกลัว ให้ทัน
ก่อนจะถูกความกลัวกลืนกิน

ความกลัวเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดได้
ความกลัวมาเพื่อจะปกป้องเรา
แต่บางทีมันก็เยอะเกินไป
จนทำให้เราไม่ได้ทำในสิงที่ควรทำ

จับความกลัวให้ทัน
ฟังเขา
และ ลองให้สติกับความกลัว และ ตนเอง
"เรากลัวมากไปหรือเปล่า? "
แล้วลงมือทำ ทั้งที่ยังรู้สึกกลัว
หลายครั้งเมื่อลงมือทำ
ความจริง จะบอกเราเองว่า
"ความจริง มันไม่ได้กลัวเหมือนที่คิดสักหน่อย
และ เราก็ทำได้มากกว่าที่เราคิดไว้ด้วย"

4. ฝึกยอมเสียเซลฟ์ เสียหน้า บ้าง
เพื่อชีวิตที่ดีกว่า
การรักษาเซลฟ์ รักษาหน้ามากไป
ด้วยการหลีกเลี่ยง สิ่งที่ควรเผชิญ สิ่งที่ควรทำ สุดท้าย
เราจะเกิดเสียเซลฟ์อย่างแท้จริง

คือ เราจะพบว่า เราทำให้ทุกอย่างแย่ลง
จากการหลบหลีกสิ่งที่ควรทำไปเรือ่ยๆ จนเกิดความเยิน ความพัง ความหายนะในชีวิต
จากความกลัวเสียเซลฟ์

ยิ่งกลัวเสียเซลฟ์ กลับยิ่งเสียเซลฟ์

5. ลดการปกป้องตนเอง (เกินเหตุ) ลงบ้าง
เช่น กลัวความเจ็บปวด กลัวความผิดหวัง จนไม่ขยับใดๆ
ยิ่งทำแบบนั้น กับตนเอง
ใจเราจะยิ่งเปราะบางขึ้นเรื่อยๆ

การทำแบบนี้เราไม่ได้ปกป้องตนเอง แต่เรากำลังทำร้ายตนเอง
เราจะกลายเป็นคนใจบาง ใจแตกร้าวง่ายขึ้นเรื่อยๆ
จนต้องห่อใจในเปลือกหอยอยู่ตลอด

6. หาหัวใจตนเองให้เจอ
เพราะ "ในความรัก ไม่มีความกลัว"
ถามใจตนเอง เรารักสิ่งนั้นไหม
เรารู้สึกอย่างไร
เมื่อรู้ใจตนเอง
- ถ้าใจเราชอบ รัก มีฉันทะ กับสิ่งนั้น
ใจจะมีพลัง ช่วยให้เราตัดสินใจ และ ลงมือทำง่ายขึ้น

- แต่ถ้าใจเราไม่ชอบ ไม่รัก
แต่ต้องทำ ด้วยบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ
ลองกลับไปที่ข้อ 1 นะคะ

7. หมั่นฝึกจิต ฝึกใจ ให้มีคุณภาพดีขึ้น
เข้มแข็งมากขึ้น

ด้วย การหมั่นฝึกให้ใจมีสติ + ฝึกให้ใจมีสมาธิ
7.1 หมั่นฝึกสติ
เท่าทัน ความกลัวที่เกิดขึ้น ทั้งในรูปแบบความคิด และ อารมณ์
การเท่าทัน ความกลัว
จะช่วยลด การหลงไปกับความกลัว
ใจที่มีสติ
ใจจะมีความเป็นกลาง ต่อ ความกลัวมากขึ้น

7.2 หมั่นฝึกสมาธิ
ใจที่มีสมาธิ จะช่วยลดภาวะฟุ้งซ่าน
ใจที่มีภาวะฟุ้งซ่านจะยิ่ง ปั่นป่วน หมดแรง
จะยิ่งรู้สึกกลัวนู่น นั่น นี่ ง่ายขึ้น
ใจที่มีสมาธิ มีความนิ่งสงบภายในมากขึ้น
จะช่วยทำให้เกิดความรู้สึกหนักแน่น และ มั่นคงจากข้างในใจ
เป็นปัจจัยสำคัญ
ที่ใจจะกล้าหาญ กล้าเผชิญสิ่งที่ทำให้หวาดหวั่นได้มากขึ้นๆ

---------------------------------------------------

❤ #บทส่งท้าย ❤
"อานิสงค์ของการลงมือทำ"
1. งานเสร็จ /ได้ทำสิ่งที่ควรทำสักที
2. ใจโล่ง สบาย ไม่มีอะไรคั่งค้างใจ
3. ได้ความสำเร็จ /ได้งานที่เป็นประโยชน์ต่อไป
4. ได้ความมั่นใจ / ได้ความศรัทธาในตนเองมากขึ้น
5. ได้ความภาคภูมิใจในตนเอง
6. รู้สึกดีกับตนเองได้อย่างแท้จริง
(เพิ่ม self-esteem โดย ไม่ต้องคอยหาเหตุผลแก้ตัวกับตนเอง และ คนอื่น เวลาไม่ลงมือทำ)
7. มีทักษะในการจัดการปัญหาต่างๆได้ดีขึ้น
8. ได้ฝึกความอดทน
9. ได้เพิ่มปัญญาทางสมอง และ ทางจิตใจ
การลงมือทำได้เรียนรู้อะไรมากมาย
ทั้งทางโลก ความเข้าใจชีวิต และ จิตใจตนเอง
10. จิตใจเข้มแข็ง กล้าหาญ มากขึ้น เพราะได้ฝึกเผชิญสิ่งที่เผชิญได้ยาก

บทความโดย พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

----------------------------------------

- สามารถรับฟังบทความนี้ได้ทางลิงค์นี้ค่ะ 🙂
https://www.youtube.com/watch?v=rrktgASrD7Q

#เข้าใจธรรมชาติชีวิต
#เข้าใจธรรมชาติจิตใจ
#ยิ่งโตยิ่งสุข